วิธีเดินจงกรมและวิธีนั่งสมาธิ

วิธีเดินจงกรมและวิธีนั่งสมาธิ
ต่อไปนี้จะแนะนำวิธีเดินจงกรมและนั่งสมาธิ ฝึกหัดสติอบรมจิตเพื่อเป็นพละ
คือธรรมที่เป็นกำลัง ๕ อย่าง ที่เรียกว่า พละ ๕ หรือ อินทรีย์ ๕

อานิสงส์ของการเดินจงกรม

๑. ทนต่อการเดินทาง คือเดินทางได้ไกล
๒. ทนต่อการทำความเพียร คือทำความเพียรได้มาก
๓. อาหารที่บริโภคเข้าไปแล้วย่อมจะย่อยง่าย
๔. อุคคหนิมิตที่เกิดขึ้นเวลาเดินจงกรมจะไม่เสื่อมง่าย
๕. การเดินจงกรม จิตก็สามารถที่จะรวมได้ และเป็นการบริหารร่างกายให้แข็งแรง
โรคที่จะมาเบียดเบียนก็น้อยลง

วิธีการเดินจงกรม

ให้เราทำทางเดินยาวๆ ไว้ (แล้วแต่จะชอบ) เมื่อเราไปถึงต้นทางแล้ว ให้ตั้งเจตนานึกในใจว่า “สาธุ ข้าพเจ้าจะเดินจงกรมเพื่อเป็นการปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ขอจงให้จิตใจของข้าพเจ้าสงบเยือกเย็นเป็นสมาธิ เกิดมีสติปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุกประการเทอญ”

แล้วต่อจากนั้นให้ระลึกคำบริกรรมว่า “พุทโธ ชมโม สังโฆ” ๓ จบ และให้รู้ว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ มีอยู่ในจิตใจของเรา เสร็จแล้วจึงลืมตาขึ้นซ้ายทับมือขวา (มือขวาทับมือซ้ายก็ได้วางไว้ที่บริเวณสะดือของเรา
ออกเดิน

ขณะที่ก้าวเดินนั้น ให้ระลึกคำบริกรรมว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ… ให้ระลึกภายในใจ ไม่ต้องออกเสียง ไม่ต้องกระดกลิ้น การที่เราจะเดินช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับใจของแต่ละบุคคล ให้เดินไปเดินมาพร้อมทั้งระลึกคำบริกรรมอย่างที่กล่าวมาแล้ว

เดินฝึกหัดสติเช่นนี้ เมื่อเราปฏิบัติไปจนชำนาญแล้ว สติกับจิตใจจะรวมเข้าเป็นอันเดียวกัน ไม่นานจิตก็จะรวมเป็นสมาธิ จะมีอาการสบายตัว ไม่เมื่อย เบาแข้งเบาขาในขณะที่เดิน เหมือนกับว่ามีใครมาพยุงเดินอย่างนั้น อาการอย่างนี้เรียกว่า จิตรวมด้วยอิริยาบถเดินจงกรม

วิธีนั่งสมาธิ

เมื่อเราเดินจงกรมเสร็จแล้ว ถ้าเราจะนั่งสมาธิต่อ ก็ให้หาที่นั่ง ก่อนอื่นให้กราบ ๓ ครั้ง และนึกในใจว่า “สาธุ ข้าพเจ้าจะนั่งสมาธิภาวนาเพื่อเป็นการปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ขอให้จิตใจของข้าพเจ้าสงบเยือกเย็นเป็นสมาธิเกิดมีสติปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุกประการเทอญ” ต่อจากนั้นให้บริกรรม “พุทโธ ธัมโม สังโฆ” ๓ จบ และให้เข้าใจว่าคุณพระพุทธเจ้า
พระธรรม พระสงฆ์ มีอยู่ภายในใจของเรา

เสร็จแล้วให้นั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาช้าย (หรือเอาขาซ้ายทับขาขวาก็ได้ เอามือขวาทับมือซ้าย นั่งโดยตั้งลำตัวให้ตรง คือไม่ก้มนัก ไม่เงยนัก ไม่เอียงซ้าย ไม่เอียงขวา เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วจึงเริ่มหลับตา และเริ่มบริกรรมพุทโธ พุทโธ พุทโธ ให้เป็นอารมณ์เดียว (การนั่งภาวนานี้ ทำเช่นเดียวกับการเดินจงกรม ต่างกันแต่การเดินกับการนั่งเท่านั้น

ในขณะที่เราบริกรรมอยู่นั้น ให้สงเกตดูว่าเมื่อสติกับจิตใจรวมเข้าเป็นอันเดียวกันแล้ว รู้สึกว่าสบายใจ สบายกาย เราจะหยุดใช้คำบริกรรมก็ได้ แต่ให้เราตั้งสติกำหนดรู้อยู่ตรงที่รู้ไม่ให้ความรู้เคลื่อนไหวไปตามอารมณ์สัญญาความนึกคิดอะไรทั้งนั้นให้กำหดรู้แน่วแน่นิ่งเฉย เมื่อเราไปปฏิบัติได้เช่นนี้แล้ว จิตก็จะรวมสนิท ไม่มีนิมิตหรืออารมณ์ต่างๆ มารบกวน รู้สึกสบายกาย สบายใจ หายเหน็ดหายเหนื่อย หายปวดแข้งปวดขา หายปวดหลังปวดเอว เราจะรู้สึกมีความสุขมากถ้าจิตของเรารวมได้สนิทอย่างที่พูดมาแล้ว

เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิแล้ว อย่าเพิ่งด่วนออกจากสมาธิ ให้ตั้งสติเอาไว้แล้วพิจารณาเสียก่อนว่า ในขณะที่เรานั่งสมาธิตอนแรกนั้น เราละวางอารมณ์อย่างใด ตั้งสติกำหนดรู้อะไร เรามีความอยากรู้ อยากเห็น อยากเป็นอะไรหรือไม่ จิตของเราจึงรวมเป็นสมาธิได้ จิตของเราจึงมีความสุขเช่นนี้ เราต้องพิจารณาสังเกตสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาให้รู้ไว้เพื่อว่าในครั้งต่อๆ ไปเวลาที่เราปฏิบัติ เราจะได้เดินได้ถูกทางถูกวิธีที่เราเคยทำได้มา

แต่ขอเตือนว่า เมื่อเราทำได้ในครั้งแรกแล้ว คราวต่อไปถ้าเราทำด้วย “ความอยาก” จิตของเราจะไม่สามารถที่จะรวมได้เลย เพราะความอยากเป็นข้าศึกของสมาธิโดยแท้ ผู้ที่ไม่เคยได้สมาธิ ก็จะไม่สามารถที่จะเป็นได้ถ้าผู้นั้นมีความอยาก เพราะความอยากเป็นนิวรณธรรมคอยกั้นจิต

ตัวอย่างของการบำเพ็ญสมถะนี้ ให้มุ่งเฉพาะอบรมทรมานจิตใจให้สงบอย่างเดียวเท่านั้น หรือจะมีคุณธรรมประเภทใดเล่าที่จะบังคับจิตใจให้สงบได้อย่างแท้จริง
นอกจากการบากบั่นฝึกหัดสติ และมีศรัทธาความเชื่อมั่น มีฉันทะความพอใจอุดหนุน ความขยันหมั่นเพียรจึงจะเป็นผลสำเร็จ

ไม่ว่าการงานในทางโลกและทางธรรม ถ้าไม่มีฉันทะคือความพอใจในการทำงานแล้ว การงานนั้นก็จะไม่เป็นผลสำเร็จสักอย่างเลย ชาวโลกเขาเรียกคนประเภทนี้ว่า “คนขี้เกียจคนขี้คร้าน” ใช่หรือไม่

แล้วที่นี้ทางธรรมเรา ถ้าพระเณรไม่มีฉันทะคือความพอใจในการเดินจงกรมนั่งงสมาธิภานาเพื่อฝึกหัดสติแล้ว สมถภาวนาก็จะไม่สำเร็จผลประโยชน์ เมื่อความสงบไม่เกิดขึ้นแก่จิตใจแล้ว วิปัสสนาไม่ต้องไปพูดถึงเลย จะเป็นไปไม่ได้แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ ครูบาอาจารย์ท่านเรียกว่า “พระเณรขี้เกียจขี้คร้าน” เหมือนกัน

อีกประการหนึ่ง วิธีระลึกคำบริกรรมที่แนะมาเบื้องต้น มิได้ประสงค์ให้ฝีกหัดสติระลึกพุทโธเฉพาะเวลาที่เดินจงกรมหรือนั่งสมาธิเท่านั้น พระพุทธเจ้าท่านว่า “อกาลิโก” คือไม่เลือกกาลเลือกเวลา เช่น เราเดินไปบิณฑบาต ก็ให้เราระลึกพุทโธไปเรื่อยๆ คือ
ให้สติของเราระลึกอยู่อย่างนั้น ไม่เอาเรื่องอะไรของใครทั้งนั้น ใครเขาจะพูดจะคุยกันอย่างไรก็ตาม เราไม่ต้องไปสนใจเลย

ก่อนที่จะบริโภคฉันภัตตาหาร ก็ให้มีสติกำหนดพิจารณาอาหารตามหลักคำแปลของ “ปฏิสังขาโย” เมื่อเราจะล้างบาตรหรือเช็ดบาตร ก็ให้มีสติระลึกพุทโธอยู่ตลอด เราจะไม่ยอมปล่อยจิตใจของเราออกไปนอกกายของเราเลย สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างนิดหน่อยที่ยกมาให้ท่านทั้งหลายได้ฟังกัน แต่ขอสรุปอีกครั้งว่า การฝึกสตินั้น เราจะ
ต้องไม่ปล่อยจิตใจออกไปสู่อารมณ์ต่างๆ จิตใจของเราจึงจะมีความสงบเกิดขึ้น

ภายนอก คือนอกจากกายใจของตนแล้ว เรียกว่าฝึกอบรมสติเพื่อให้มีกำลังแก่กล้า เป็นถ้าจะพูดตามหลักของพระพุทธเจ้าแล้ว การไม่ปล่อยจิตใจของเราไปเล่นอารมณ์มหาสติใหญ่ ที่เรียกว่า “อินทรีย์แก่กล้า” สามารถบังคับจิตใจให้สงบเป็นสมาธิได้ง่าย

ถ้าท่านทั้งหลายไม่พากเพียรตามคำที่ได้แนะนำไปนี้แล้ว ถึงท่านจะเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิจนจิตใจได้รับความสงบบ้าง ก็จะเสื่อมได้อย่างแน่นอน คราวนี้เมื่อทำอีก
ก็จะสงบได้ยาก เพราะความประมาทปล่อยจิตใจให้ฟุ้งช่าน นึกคิด ออกไปเล่นอารมณ์ต่างๆ เป็นเหตุ เมื่อเป็นเช่นนี้ การฝึกหัดทำสมาธิภาวนาจึงไม่ได้รับผลหรือไม่ได้รับอานิสงส์ตามที่เราปรารถาเอาไว้

บางท่านทำสมาธิ จิตใจสงบเป็นบางครั้งบางคราวแล้ว ก็ควรที่จะมากำหนดพิจารณาร่างกายให้มากเท่าที่จะมากได้ยิ่งเป็นการดี การกำหนดพิจารณาร่างกาย ท่านเรียกว่า “อนุโลม” แต่อย่าทำสับสนกัน คือเมื่อเราต้องการความสงบก็ให้บริกรรมพุทโธ อย่าไปพิจารณาร่างกาย เมื่อใดที่เราถอนจากสมาธิแล้วจึงจะพิจารณาร่างกายทีหลัง

ข้อสำคัญ วิธีกำหนดพิจารณากรรมฐาน 4 ควรตั้งข้อสังเกตเพื่อจะรู้ว่ากรรมฐาน ๕ อะไรที่ถูกกับจริตนิสัยของเรา แล้วให้กำหนดแยกส่วนแบ่งพิจารณาเอาแต่อย่างเดียว ถ้าเราไปกำหนดพิจารณาควบกันไป อย่างนี้บ้าง อย่างโน้นบ้าง เช่นนี้แล้วเลยไม่รู้แจ้งเป็น “ปัจจัตตัง” สักอย่างเลย

ถ้าเป็นผู้มีสติมีกำลังตั้งมั่นกำหนดรู้ส่วนหนึ่งแจ่มแจ้งแล้ว ก็จะพิจารณาทะลุปรุโปร่งไปหมดทั้งร่างกาย ถ้าผู้มีสติปัญญาใคร่ประสงค์อยากจะพิจารณาธรรมภายในดังเช่น “ไตรลักษณ์” คือ อนิจจัง ทุกข์ง อนัตตา ภายในรูปหรือนามขันธ์ ๕ เช่น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอาทิ ก็ให้พิจารณาได้ในอิริยาบถเดินจงกรมนี้เพื่อเป็นแนวทางของวิปัสสนาต่อไป

แต่ขออย่างเดียว อย่าส่งจิตออกไปภายนอกกายและใจก็แล้วกัน และเรื่องการบริกรรมภาวนาสมถะเบื้องต้นนั้น ถ้าจิตใจมีสติมีกำลังพอสมควรแล้ว เมื่อกำหนดกายส่วนใดส่วนหนึ่ง สติก็ให้ตั้งมั่นอยู่ที่กายนั้น เมื่อกำหนดจิตใจ สติก็ให้ตั้งมั่นอยู่ที่ใจและจะหยุดไม่ระลึกคำบริกรรมก็ได้ แต่ให้ฝึกหัดสติกำหนดพิจารณากายและกำหนดจิตใจดังที่แนะนำมานี้แล

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *