๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕ พวกเราท่านนักปฏิบัติทั้งหลาย เราต้องคอยแสวงหาครูบาอาจารย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้ เพราะการภาวนนั้นใช่ว่าจะไม่สามารถที่จะกิดโทษได้ ที่พูดเช่นนี้เพราะบางครั้งเราอาจจะเดินทางผิดก็ได้ เมื่อเราผิดแล้วหรือสงสัยว่าจะถูกหรือผิด เราต้องรีบไปหาครูบาอาจารย์ที่สามารถจะช่วยชี้แนะเราได้ บางครั้งการภาวนาก็สามารถที่จะทำให้เกิดสัญญาวิปลาส คือความคิดที่เห็นผิดจากความเป็นจริง ในหลักท่านเรียกว่า “มิจฉาทิฏฐิ” การที่เราจะเริ่มหัดภาวนา ในเบื้องแรกเราจะต้องเข้าหาครูบาอาจารย์ที่ท่านฉลาด ท่านที่เคยผ่านอุปสรรคเหล่านี้มาแล้ว เพราะเมื่อเวลาที่เรามีปัญหา ท่านจะสามารถที่จะช่วยเราได้ถูกต้อง ท่านกล่าวว่า แม้อาจารย์ท่านใดจะได้สมาธิขนาดไหน ได้รับปีติความสุขอย่างขนาดไหน จะระลึกชาติได้สักกี่ชาติก็ตาม ถ้าไตรลักษณ์ยังไม่เกิดแล้วท่านก็ยังจัดเป็น “มิจฉาสมาธิ” เพราะว่าในชั้นนี้มักจะเดินทางที่ผิดเป็นส่วนมาก จิตวิปลาส คือ ความเห็นที่ผิดจากความเป็นจริง ความคิดที่เห็นผิด เช่น คิดว่าของไม่เที่ยงสำคัญกว่าของเที่ยง ของที่เป็นทุกข์สำคัญกว่าสิ่งที่เป็นสุข จะยกตัวอย่างให้ฟัง ในสมัยก่อนนั้นได้ข่าวท่านอาจารย์ “สงค์” ประกาศตนเองว่าตนสำเร็จอรหันต์ ท่านเจ้าคุณสมเด็จมหารีรวงศ์ ท่านจึงสั่งให้ท่านอาจารย์สงค์เข้าไปกรุงเทพฯ เพื่อที่ทำการสอบสวน มหาเมฆได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้ากรรมการสอบสวน มีคณะกรรมการร่วมด้วยหลายองค์ คณะกรรมการได้ถามเกี่ยวกับเรื่องพระธรรมวินัยหลายเรื่อง อาจารย์สงค์ได้แสดงเป็นภาคไปเลย ไม่มีการติดขัด พอสอบสวนเสร็จแล้วก็ให้ขังไว้ในกุฏิ ไม่ให้ออกบิณฑบาต ในที่สุดคณะกรรมการไม่สามารถที่จะสรุปได้ว่าเป็นจริงเท็จอย่างใด คณะกรรมการจึงไปกราบเรียนเจ้าคุณสมเด็จมหาวีรวงศ์ พอดีในระหว่างนั้น หลวงปู่มั่นท่านเข้าไปพักอยู่ที่วัดสระปทุม พวกคณะกรรมการจึงมากราบเรียนหลวงปูมั่นให้ช่วยพิจารณา เมื่อคณะกรรมการรายงานจบลง หลวงปู่มั่น ท่านก็นั่งหลับตาไม่ถึงห้นาที… Continue reading วิปลาส
Category: Uncategorized
ฌาณ
ฌาน๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕วันนี้จะขอพูดเรื่องการเจริญฌานให้พวกท่านทั้งหลายได้ฟังกัน เพื่อที่จะได้นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป ขอให้ตั้งใจกันให้ดีๆ อย่าได้ส่งจิตส่งใจออกไปรับอารมณ์อย่างอื่นเพราะจะไม่มีประโยชน์เลย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านสอนให้พวกเราบำเพ็ญสมถะ ก็คือการเจริญฌาน ๔ นี่เอง คำว่า ฌาน ๔ ก็คือ ๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน ๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน สัมมาสมาธิ หมายความว่า ให้เจริญฌานทั้งสี่ให้สำเร็จเสียก่อน จึงจะเกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า “ไตรลักษณ์หรือญาณทัสสนะ” ญาณ แปลว่า ความรู้ ทัสสนะ แปลว่า ความเห็น ดังนั้น ญาณทัสสนะ หมายความว่า ทั้งรู้ทั้งเห็น เรียกว่ารู้ดีรู้ชอบ เห็นดีเห็นชอบ คือการเห็นกายเวทนา และจิตเวทนานี่แหละ ถ้าพูดแบบสรุปใจความ ฌานทั้งสี่กับวิปัสสนานี้ ไม่สามารถที่แยกกันได้เป็นคู่กันไปเรื่อยๆ ถึงแม้จะได้สำเร็จเป็นพระโสดาอริยมรรคบุคคลแล้ว หรือเจริญมรรคหนึ่งๆ นับตั้งแต่ปฐมมรรค เรียกว่า อนุโลม ปฏิโลม ท่านหลวงปู่มั่นท่านจึงสรุปในมุโตทัยว่า… Continue reading ฌาณ
วัฏสงสาร
วัฏสงสาร๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕วัฏสงสารหรือสังสารวัฏ คนพื้นบ้านพื้นเมืองเรามักจะเรียกว่า “วัฏสงสาร” ความหมายก็เหมือนกับล้อรถหรือล้อเกวียนที่จะนับหรือหาที่ใดเป็นที่ตั้งต้นไม่ได้ เหมือนกับโคลากเกวียน กงล้อก็หมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ วัฏสงสารก็หมายถึงอย่างเดียวกัน กิเลสเป็นเหตุให้กระทำกรรม เมื่อทำแล้วก็ได้รับผลของกรรม เรียกว่า “วิบาก” เมื่อรับวิบากแล้วก็ทำกรรมต่อไปอีก ทำกรรมแล้วก็ได้รับผลของกรรมหรือวิบากอีก กิเลสจึงเป็นเหตุให้ทำกรรมวนเวียนกันอยู่เช่นนี้เรื่อยไป จึงเรียกว่า วัฎสงสาร หรือสังสารวัฏ พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงว่า กิจุโฉ มนุสสปฏิลาโภ แปลว่า บุคคลเราเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นหญิงเป็นชายนี้ ไม่ใช่ของง่าย แสนจะยากที่สุด ท่านเปรียบเทียบไว้เหมือนเต่าตาบอดจมอยู่ในมหาสมุทร หนึ่งร้อยปีทิพย์จึงจะมีโอกาสโผล่ศีรษะขึ้นมาครั้งหนึ่ง ถ้าศีรษะเต่าตาบอดนั้นโผล่ขึ้นมาสวมไปในแอกที่ลอยอยู่ในมหาสมุทรพอดี จึงจะได้มีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์ครั้งหนึ่ง มหาสมุทรนั้นกว้างเพียงใด ลึกเพียงใด ประมาณไม่ได้ ศีรษะของเต่าจะเข้าไปสวมอยู่แอกกลมๆ นั้นยากขนาดไหน ลองพิจารณาดูกันเอง พวกคนพาลหรือพวกไม่รู้ไม่เชื่อก็ว่ ถ้าคนเกิดมายาก ไม่ได้เกิดง่ายๆ ไฉนเล่าคนในโลกจึงมากมายจนไม่มีสถานที่ทำมาหากิน ที่ไร่ ที่นา ที่สวน ก็ไม่เพียงพอต่อการทำมาหากิน อธิบายได้ว่า คนเราเมื่อตายแล้ว เกิดเป็นอย่างใดก็ได้ เกิดเป็นสัตว์ชนิดใดก็ได้มีตัวอย่างว่า ท่านหลวงพ่ออาจารย์พรหม บ้านดงเย็น จ.อุดรา ท่านสามารถระลึกชาติได้ท่านว่าท่านเคยเกิดเป็นแมลงหวี่ มอด… Continue reading วัฏสงสาร
วิธีแก้นิมิต
วิธีแก้นิมิต ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๑ วันนี้นับเป็นโอกาสดีที่ท่านทั้งหลายได้มีโอกาสบำเพ็ญบารมีเพิ่มขึ้นอีก คือการได้ฟังพระธรรมเทศนาซึ่งเป็นธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งการบำเพ็ญบารมีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นของง่ายเท่าใดนัก เพราะฉะนั้นวันนี้จึงนับเป็นโอกาสอันดียิ่ง วันนี้ใคร่ขอพูดถึงเรื่องนิมิต เมื่อผู้ปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา สามารถรักษาศีลให้สำรวมดีแล้ว การทำสมาธิภาวนาก็จะเป็นไปได้ง่าย แต่ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สำรวมรักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้วการทำสมาธิภาวนาก็จะเป็นไปได้ยาก ทำไมท่านจึงพูดไว้เช่นนั้น ก็เพราะว่าเมื่อเรารักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว ก็เท่ากับว่าเป็นการปราบกิเลสอย่างหยาบได้แล้ว ดังนั้นเมื่อเราทำสมาธิควบคู่กันไปก็จะสามารถเป็นไปได้ง่าย สำหรับการทำสมาธินั้น เราจะกำหนดพุทโธ..พุทโธ…พุทโธ เป็นอารมณ์ หรือจะเรียกว่าเอาพุทโธเป็นเป้าหมายก็ได้ หรือว่าเราจะกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ หรือเป็นเป้าหมายก็ได้เช่นกัน อันนี้แล้วแต่ว่าเราจะชอบอย่างไหนหรือถูกจริตกับสิ่งใด เมื่อเรากำหนดสติของเราตั้งมั่นอยู่ที่ไหน จิตของเราก็ให้อยู่ที่นั่น เพราะสติเป็นเครื่องผูกเป็นเครื่องครอบงำเป็นเครื่องบังคับ นอกจากสติและความรู้แล้วไม่มีสิ่งไหนในโลกที่จะสามารถบังคับจิตให้สงบลงได้ เมื่อเราต้องการบำเพ็ญสมถะ เราต้องเจริญสติให้มากๆ ถ้าเราจะกำหนดลมหายใจเข้าออก เราก็กำหนดลมหายใจที่มาสัมผัสที่ปลายจมูกหรือที่หัวใจ หรือที่ท้องน้อย หรือที่ลิ้นปี่ หรือที่ไหนก็ได้ แต่ให้กำหนดเอาไว้อยู่เพียงจุดเดียวเท่านั้น การฝึกหัดทำสมาธิภาวนานี้ ในตอนแรกๆ จะทำได้ยาก มักจะมีอาการปวดเมื่อยตามแข็งตามขาหรือตามเอวตามหลัง ในตอนแรกๆ นี้จะต้องอาศัยความอดทน และต้องอาศัยความฝืนอยู่มากพอสมควร แต่เมื่อกระทำไปประมาณ ๒-๓ อาทิตย์ ก็จะรู้สึกเคยชิน อาการปวดเมื่อยต่างๆ ก็จะค่อยๆ หายไป เมื่อเรารู้สึกปวดเมื่อยแล้ว… Continue reading วิธีแก้นิมิต
อภิญญา
อภิญญา ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕ เมื่อได้ฌานแล้ว บางครั้งก็จะได้ถึงขั้นอภิญญาซึ่งเป็นความรู้พิเศษ ผู้ที่เวลาปฏิบัติเกิดนิมิตมากๆ มักจะได้อภิญญา เมื่อมีเหตุการณ์ใดๆ ที่จะเกิดขึ้น ท่านมักจะรู้ส่วงหน้าก่อนเสมอ เช่น จะรู้ล่วงหน้าว่าวันนี้จะมีผู้มาหา เป็นต้น อภิญญาเกิดจากฌานสมาธิ อภิญญานี้ไม่แน่นอน มักจะเสื่อมได้ หรืออาจจะเป็นวิปลาส จะพูดไม่ตรงต่อธรรมวินัย เมื่อผู้ที่ได้อภิญญาแล้ว ถ้าไม่รู้ทัน ก็จะทำให้เกิดความหลงได้ ในสายของหลวงปู่มั่นนี้ ท่านที่ได้อภิญญาที่สำคัญคือ ท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร ท่านสามารถที่จะพูดกันได้กับหลวงปู่มั่นเวลาท่านไปเยี่ยมกัน ท่านมักถามเป็นปัญหา ว่า “เมื่อคืนรับแขกมากไหม” คำว่า “แขก” ในที่นี้ ก็หมายถึงพวกเทพยดาในสวรรค์ชั้นต่างๆ ตลอดจนถึงพระอินทร์ที่ลงมากราบมาเยี่ยม สำหรับท่านพระอาจารย์ฝัน ท่านประสบเหตุมามาก ท่านเคยเล่าให้ฟังหลายเรื่อง ถ้าเขียนเป็นหนังสือก็จะได้เล่มหนาทีเดียว ท่านอาจารย์อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม ท่านเคยอยู่กับท่านอาจารย์ฝั้นหลายปี ท่านเคยเล่าให้อาตมาฟังว่า มีนกฮูกตัวหนึ่งมันร้องกุ๊กๆ กู้ฮูก จับอยู่ที่ต้นไม้ใกลักับที่พักของท่าน เมื่อได้เวลาประมาณสองทุ่ม มันก็ร้องอยู่อย่างนั้นทุกคืน ท่านมีฌาน ท่านเลยเพ่งนกฮูก ปรากฎว่าพอท่านเพ่งไปเท่านั้นแหละ ขนของนกฮูกก็หลุดกระจุยเลย และก็มีเสียงตกลงดิน… Continue reading อภิญญา
เรื่องจิตกับใจ
เรื่องจิตกับใจ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐ในโอกาสต่อไปนี้ อาตมาจะได้แสดงพระธรรมเทศนาซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า สำหรับตัวอาตมาเองนั้นก็ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนทางปริยัติเท่าใด แต่ก็คงจะพูดให้พวกพระเณรตลอดจนผู้ปฏิบัติข้าใจได้ เพื่อให้นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป วันนี้จะขอพูดเกี่ยวกับเรื่องจิตกับใจ ซึ่งก็เป็นเรื่องเก่าๆ ที่พูดมามากแล้ว แต่เป็นสิ่งที่สำคัญมากเกี่ยวกับจิตและใจนี้ ก็ขอให้พวกท่านจงสำรวมและตั้งใจฟัง มีปัญหาถามกันว่า คำว่า จิต กับ ใจ นั้นต่างกันอย่างใด? ถ้าเราจะตอบว่าเป็นคนละอย่างก็ได้ หรือเราจะตอบว่าเป็นอันเดียวกันก็ได้เช่นกัน เพราะจิตและใจนี้เป็นของเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน คำว่า ใจ มาจาก มนะ แปลว่า รู้ คือเมื่อร้อนก็รู้ว่าร้อน หนาวก็รู้ว่าหนาว สุขหรือทุกข์ก็รู้ว่าสุขหรือทุกข์ ใจนี่แหละเป็นผู้ที่รับรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง คำว่า จิต แปลว่า นึกคิด คือนึกคิดไปตามสภาพต่างๆ เป็นอาการของใจ อะไรที่เป็นสิ่งที่นึกคิด? ถ้าไม่มี ความรู้ แล้ว เราจะนึกคิดได้อย่างไร เช่น ตุ๊กตา เป็นต้น ถ้าไม่มีใจ ก็หมายความว่าไม่มีความรู้ เมื่อไม่มีความรู้แล้ว ก็จะไม่มีอาการนึกคิด คำว่า จิต นี้แยกได้เป็น ๒ ประเภท๑.… Continue reading เรื่องจิตกับใจ
ลักษณะของจิตรวม
ลักษณะของจิตรวม๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕ เมื่อจิตเริ่มรวมจะเกิดอาการต่างๆ เช่น มีความรู้สึกว่าเบามือทั้งสองข้าง ซาบซ่านตามร่างกาย ขนลุกขนพองคล้ายกับไปพบกับสิ่งที่น่ากลัว มีอาการตัวเบาหวิว บางคนเมื่อรู้ว่าจิตเริ่มจะรวม จึงคอยดูว่าจิตจะรวมอย่างไร จิตก็รวมไม่ได้ สมาธิก็ไม่เกิด อันนี้เป็นการกระทำที่ผิด เมื่อเรารู้ว่าจิตของเรากำลังจะรวม ให้เรากำหนดผู้รู้นิ่งอยู่ สติกับใจอย่าให้เคลื่อนจากกัน อย่าให้สติเคลื่อนไหวไปตามอาการใดๆ เมื่อสติไม่เคลื่อนไปตามอาการใดๆ แล้วจิตก็รวมเอง บางครั้งก็รวมสนิทเลย เปรียบเหมือนเอาไม้ปักลงในน้ำที่ไหลเชี่ยว ปักให้นิ่งไว้ อย่าให้เคลื่อนไปตามน้ำ อย่าให้จิตเคลื่อนจากผู้รู้ ผู้ที่สามารถทำจิตรวมได้แล้วก็ให้กำหนดจิตตามเดิม กำหนดอย่างใดที่ทำให้จิตรวมได้ก็ให้กำหนดอย่างนั้น ถ้าจิตรวมสนิทก็อย่าเพิ่งออกจากสมาธิเสียทีเดียว ก่อนออกจากสมาธิให้พิจารณาเสียก่อน เราจะได้ทราบว่าเราบริกรรมอย่างใด ตั้งสติอย่างใด ละวางอารมณ์สัญญาอย่างใด จิตของเราจึงรวมได้เช่นนี้ ถ้าเราสามารถพิจารณาถึงกรรมวิธีต่างๆ ได้ ก็จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติครั้งต่อไป ขอย้ำอีกครั้ง กำหนดให้แน่วแน่ นิ่งอยู่กับผู้รู้ สติกับผู้รู้อย่าให้เคลื่อนไปตามกิริยาอาการใดๆ จิตก็จะรวมได้ก็เพราะสติอย่างเดียวเท่านั้น ตามปริยัติ สติ แปลว่าความระลึกได้ในกิจที่ได้กระทำแม้คำพูดทั้งในอดีตและปัจจุบัน ในทางปฏิบัติ สติ แปลว่า ระลึกอยู่ในใจ ไม่ให้รู้ไปตามสิ่งอื่น ถึงจะมีสัญญาอะไรก็ไม่ให้เคลื่อนไหวไปตามอาการนั้น กำหนดรู้นิ่งไว้อย่างนั้น ระลึกอยู่ที่ใจ ใจ ก็หมายถึง… Continue reading ลักษณะของจิตรวม
สติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน ๔๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฝึกหัดสติพิจารณให้รู้กายตามความเป็นจริง๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฝึกหัดสติกำหนดพิจารณาเวทนาคือความสุขความทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ (อุเบกขา) เพื่อให้รู้ตามความเป็นจริง๓. จิตตานุปัสนาสติปัฏฐาน ฝึกหัดสติกำหนดพิจารณาจิตเพื่อให้รู้ตามความเป็นจริง๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฝึกหัดสติกำหนดพิจารณาธรรมเพื่อให้รู้ตามความเป็นจริง สำหรับผู้ที่มาฝึกหัดปฏิบัติใหม่เพื่อเป็นแนวทางอบรมจิตใจให้สงบตั้งมั่นอยู่กับอารมณ์เดียวที่เรียกว่า “สมถภาวนา” ระยะแรกผู้ฝึกหัดปฏิบัติใหม่จะต้องฝึกหัดอบรมทรมานจิตใจ ต้องใช้คำบริกรรมเพื่อเป็นเป้าหมายระลึกรู้ว่าจิตของเราระลึกพุทโธ พุทโธอยู่ภายในใจ หรือถ้ากำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ ก็เป็นจุดเป้าหมายเพื่อรู้ว่าจิตใจของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออก ด้วยเหตุผลนี้ ผู้ที่เข้ามาฝึกหัดปฏิบัติใหม่ ถ้าไม่ใช้คำบริกรรมภาวนาเป็นอารมณ์เสียก่อนแล้ว จะตั้งสติระลึกรู้อะไรเป็นอารมณ์เล่า แต่อันที่จริงฝึกหัดสติกำหนดกายเป็นอารมณ์ก็ได้เหมือนกัน เพราะเหตุว่าสติปัฏฐานสี่ก็มีกายกับใจเท่านั้นที่เป็นที่ฝึกหัดสติกำหนดรู้ส่วนของร่างกาย ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น บางท่านฝึกหัดตั้งสติพิจารณากายเป็นอารมณ์ เช่น กรรมฐานทั้งท้า มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นอารมณ์ อบรมจิตใจให้สงบเป็นสมาธิได้เหมือนกัน แต่ว่าวิธีฝึกหัดตั้งสติกำหนดพิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์นี้ มีวิธีมากมายหลายอย่าง คือบางครั้งกำหนดลอกหนังเหมือนเราลอกหนังวัวหนังควายออกให้หมด แล้วจึงกำหนดพิจารณาตั้งแต่เท้าจนถึงศีรษะ ตั้งแต่ศีรษะลงมาเท้า ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง ข้างซ้ายและข้างขวา หรือบางคราวสมมุติเอาน้ำมันก๊ดเทรดศีรษะไหลลงมาถูกเสื้อผ้าชุ่มลงไปหมด แล้วกำหนดจุดไม้ขีดไฟจุดให้ลุกไหม้ และต่อไปกำหนดลอกหนังอย่างที่แนะมาแล้ว หรือบางครั้งในเวลาเดินจงกรม ก็สมมุติว่ามีคนเอามีดมาสับฟันตัวเราจนเลือดไหลอาบแดงไปทั้งตัว… Continue reading สติปัฏฐาน ๔
วิธีเดินจงกรมและวิธีนั่งสมาธิ
วิธีเดินจงกรมและวิธีนั่งสมาธิต่อไปนี้จะแนะนำวิธีเดินจงกรมและนั่งสมาธิ ฝึกหัดสติอบรมจิตเพื่อเป็นพละคือธรรมที่เป็นกำลัง ๕ อย่าง ที่เรียกว่า พละ ๕ หรือ อินทรีย์ ๕ อานิสงส์ของการเดินจงกรม ๑. ทนต่อการเดินทาง คือเดินทางได้ไกล๒. ทนต่อการทำความเพียร คือทำความเพียรได้มาก๓. อาหารที่บริโภคเข้าไปแล้วย่อมจะย่อยง่าย๔. อุคคหนิมิตที่เกิดขึ้นเวลาเดินจงกรมจะไม่เสื่อมง่าย๕. การเดินจงกรม จิตก็สามารถที่จะรวมได้ และเป็นการบริหารร่างกายให้แข็งแรงโรคที่จะมาเบียดเบียนก็น้อยลง วิธีการเดินจงกรม ให้เราทำทางเดินยาวๆ ไว้ (แล้วแต่จะชอบ) เมื่อเราไปถึงต้นทางแล้ว ให้ตั้งเจตนานึกในใจว่า “สาธุ ข้าพเจ้าจะเดินจงกรมเพื่อเป็นการปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ขอจงให้จิตใจของข้าพเจ้าสงบเยือกเย็นเป็นสมาธิ เกิดมีสติปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุกประการเทอญ” แล้วต่อจากนั้นให้ระลึกคำบริกรรมว่า “พุทโธ ชมโม สังโฆ” ๓ จบ และให้รู้ว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ มีอยู่ในจิตใจของเรา เสร็จแล้วจึงลืมตาขึ้นซ้ายทับมือขวา (มือขวาทับมือซ้ายก็ได้วางไว้ที่บริเวณสะดือของเราออกเดิน ขณะที่ก้าวเดินนั้น ให้ระลึกคำบริกรรมว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ… ให้ระลึกภายในใจ ไม่ต้องออกเสียง ไม่ต้องกระดกลิ้น การที่เราจะเดินช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับใจของแต่ละบุคคล ให้เดินไปเดินมาพร้อมทั้งระลึกคำบริกรรมอย่างที่กล่าวมาแล้ว… Continue reading วิธีเดินจงกรมและวิธีนั่งสมาธิ
กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการจัดเป็นกายกรรม ๓ อย่าง ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี คือ ละจากการฆ่าสัตว์ ๒. อทินนาทานา เวรมณี คือ ละจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ๓. กามสุมิจฉาจารา เวรมณี คือ ละจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย จัดเป็นวจีกรรม ๔ อย่าง ๑. มุสาวาทา เวรมณี คือ ละจากการพูดเท็จ คำไม่จริง ๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี คือ ละจากการพูดส่อเสียด ๓. ผรุสาย วาจาย เวรมณี คือ ละจากการพูดคำหยาบ ๔. สมุผปุปลาปา เวรมณี คือ ละจากการพูดเพ้อเจ้อ จัดเป็นมโนกรรม ๓ อย่าง ๑. อนภิชฺฌา คือ เป็นผู้ไม่โลภมากอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน ๒. อพยาปาท… Continue reading กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ